โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน ภัยเงียบที่มากกว่าอาการปวดหลัง

 25 Oct 2023  เปิดอ่าน 663 ครั้ง
อาการ 'ปวดหลัง' เกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งหลายครั้งส่งผลต่อการใช้ชีวิต และหนึ่งในอาการที่ไม่ควรมองข้าม คือ โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน ที่เกิดจากความเสื่อมของข้อต่อ อุบัติเหตุ หรือความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด การปรับพฤติกรรม สังเกตุตัวเอง สามารถลดความเสี่ยงการเกิดอันตรายได้

Key Point :

  • โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน เกิดได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ ความเสื่อมจากอายุ หรือความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
  • สามารถสังเกตอาการ คือ ปวดหลังโดยเฉพาะตอนขยับตัว ก้มหลัง แอ่นหลัง ปวดร้าวลงขา หรือชาบริเวณเท้าหรือขา
  • การรักษาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน สามารถทำได้ทั้งไม่ต้องผ่าตัด และ การผ่าตัด ซึ่งทำให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ 


เมื่อมีอาการปวดหลังเป็นประจำ นั่นคือจุดเริ่มต้นของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน โดยมักจะมีอาการชาบริเวณที่เส้นประสาทถูกกดทับ มีอาการปวดมากขึ้นเมื่อต้องเดินต่อเนื่องเป็นเวลานาน และจะรู้สึกได้ว่าเดินต่อไม่ได้ หากพบอาการดังกล่าว อย่ารอช้า ให้พบแพทย์เพื่อเข้าตรวจวินิจฉัยทันที

 

ผศ.นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา ศัลยกรรมกระดูกและข้อ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ กล่าวผ่านรายการ ลัดคิวหมอรามาฯ ผ่านเฟซบุ๊ก RAMA Channel โดยอธิบายว่า โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน เกิดได้จากหลายสาเหตุ บางคนเคยอุบัติเหตุมาก่อนทำให้โครงสร้างกระดูกสันหลังไม่แข็งแรง ทำให้มีการเคลื่อนออกจากกัน บางคนเกิดจากความเสื่อมกระดูกสันหลังมีหลายข้อ แต่ละข้อมถูกยึดติดด้วยข้อต่อต่างๆ หากกระดูกสันหลังมีความเสื่อม ข้อต่อก็อาจจะหลวมได้ พอหลวมเยอะก็ทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนได้

 

"ถัดมา บางคนมีสรีระผิดปกติแต่กำเนิด โครงสร้างที่ควรจะล็อกเข้าด้วยกันเพื่อความมั่นคงของกระดูกสันหลัง พอร่างกายไม่ปกติตั้งแต่กำเนิด ทำให้บางคนกระดูกสันหลังเคลื่อนตั้งแต่เด็กได้ หรือบางคนเป็นโรคอื่นๆ เช่น มะเร็ง มีการติดเชื้อที่ทำลายโครงสร้างกระดูกทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนได้เช่นกัน" 


อาการกระดูกสันหลังเคลื่อน

 

อาการหลักของกระดูกสันหลังเคลื่อน คือ อาการปวดหลัง เป็นเยอะตอนมีการขยับตัว เพราะกระดูกสันหลังมีหลายข้อต่อ เมื่อเราก้มหลัง หรือแอ่นหลัง ข้อต่อจะขยับไปพร้อมๆ กัน หากมีกระดูกสันหลังเคลื่อน จะมีข้อต่อข้อหนึ่งที่ขยับมากกว่าปกติ สามารถสังเกตได้ดังนี้ 

  • ปวดเยอะมากขึ้นเวลาขยับตัว เช่น การก้ม แอ่นหลัง
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ปวดสะโพกร้าวลงขา
  • ชาบริเวณเท้าหรือขา
  • เมื่อย ตึงกล้ามเนื้อบริเวณหลัง

 

“หากเคลื่อนแล้วกระดูกสันหลังที่มีการขยับภายในจะไปกระแทกที่เส้นประสาทได้ อาจจะมีอาการปวดลงมาที่ขา ชาขา หรือเมื่อยน่อง โดยอาการขึ้นอยู่กับบุคคล หากบางคนเคลื่อนเยอะ ก็อาจทำให้อาการอ่อนแรงร่วมด้วย แต่หากบางคนอาการน้อยอาจจะปวดหรือชา อาการแต่คนไม่สัมพันธ์กับการตรวจเอกซเรย์ว่าเคลื่อนขนาดไหน ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงกล้ามเนื้อโดยรวมด้วย บางคนกระดูกสันหลังเคลื่อนไม่เยอะ แต่กล้ามเนื้ออ่อนแอ น้ำหนักตัวเยอะ พอใช้งานจริงอาจจะมีการเคลื่อนมากกว่าการเอกซเรย์ตรวจเจอ เพราะการเอกซเรย์เป็นเพียงการถ่ายภาพแค่ครั้งเดียว ท่าทายที่ถ่ายก็จะเป็นท่าทางเดียว เช่น ยืน ก้มระดับหนึ่ง แต่การใช้ชีวิตจะมีกิจกวัตรมากกว่าท่าทางเหล่านั้น”


ปวดแค่ไหนถึงเข้าขั้น กระดูกสันหลังเคลื่อน

 

ผศ.นพ.ปิลันธน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการปวดหลัง เป็นได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากกล้ามเนื้อ แต่คนที่มีความผิดปกติจากโครงสร้างภายใน จะทำให้มีอาการปวดบ่อย ถี่ หรือเป็นทุกเช้า มีการอักเสบที่รู้สึกว่าตึง ฝืด อย่างน้อย 10-30 นาที ทุกเช้า และรบกวนชีวิตประจำวัน หรือปวดขนาดที่ต้องทานยาแก้ปวด ไม่หายเอง หากมีอาการเหล่านี้แนะนำว่าให้ตรวจเช็ก


"ขณะเดียวกัน กระดูกสันหลังเสื่อม กับ กระดูกสันหลังเคลื่อน อาการใกล้กันมาก หากจะรู้ว่าเคลื่อนเยอะ ทำให้ความบาลานซ์ในตัวเราค่อมไปด้านหน้า หากในผู้สูงอายุบางคนที่เดินหลังค่อมก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นกระดูกสันหลังยุบตัวจากกระดูกพรุน หรือบางคนมีกระดูกสันหลังเคลื่อนทำให้การบาลานซ์ของร่างกายล้มไปด้านหน้าได้"

 

อย่างไรก็ตาม ในคนที่ร่างกายยังแข็งแรง กล้ามเนื้อแข็งแรง กล้ามเนื้อหลังก็ต้องทำงานเยอะกว่าปกติเพื่อไม่ให้เราล้มไปทางด้านหน้า กล้ามเนื้อหลังจะเกร็ง ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ยืนได้ไม่นาน นั่งได้ไม่นาน ปวดเมื่อยที่หลัง ล้าได้ง่าย เพราะกล้ามเนื้อหลังทำงานมากกว่าปกติเพื่อดึงไม่ให้เราล้ม อายุเป็นปัจจัยหนึ่ง ขณะที่ คนหนุ่มสาวอาจมีปัจจัยจากอุบัติเหตุและโครงสร้างที่ไม่ปกติตั้งแต่กำเนิด การเจริญของกระดูกไม่ปกติทำให้ข้อต่อต่างๆ ไม่สามารถล็อกกันได้อย่างมั่นคง

 

การรักษา

 

แบบไม่ผ่าตัด

  • ปรับพฤติกรรม
  • ให้ยาลดอาการปวด
  • ทำกายภาพบำบัด
  • ใข้อุปกรณ์ซัพพอร์ตหลัง
  • ฉีดยาบริเวณโพรงไขสันหลัง

แบบผ่าตัด

  • ผ่าตัดขยายโพรงเส้นประสาท
  • กระดูกสันหลังที่ถูกกดทับ ผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง
  • การผ่าตัดผ่านช่องทางด้านหน้า
  • การผ่าตัดผ่านช่องทางด้านข้าง
  • การผ่าตัดผ่านช่องทางด้านหลัง

 

“การรักษาขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้ เบื้องต้นอาจจะไม่ได้เริ่มจากการผ่าตัดสำหรับทุกคน หากอาการไม่เยอะ แนะนำให้ทานยาแก้ปวด ทำกายภาพ ประคบอุ่นบริเวณหลัง หรือ ออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อหลัง ลำตัวให้แข็งแรง หากกล้ามเนื้อของเราสามารถพยุงกระดูกสันหลังที่เคลื่อนได้ และคนไข้ไม่มีอาการชา คิดว่าร่างกายยังสามารถรับภาระตรงนี้ได้ แต่บางคนอายุเยอะขึ้น กล้ามเนื้อไม่ค่อยดีหรือต้องทานยาที่มีผลข้างเคียง อาจจะพิจารณาการผ่าตัด หรือ ฉีดยาที่หลังเพื่อลดอาการปวด”

 

ขณะที่ ในเด็กบางคนที่โครงสร้างผิดปกติ อยู่ในช่วงที่กำลังจะสูง และเห็นว่ากระดูกสันหลังเคลื่อนเยอะแล้ว ยิ่งตอนที่สูงเยอะขึ้นทำให้โอกาสเคลื่อนเยอะขึ้น ก็จำเป็นต้องผ่าตัดในบางคน ถึงแม้จะอายุน้อย เพราะอาจจะแย่กว่าเดิมได้หากทิ้งไว้เมื่อโต ทำตอนที่เคลื่อนไม่เยอะจะได้ผลการรักษาดีกว่า 

 

การดูแลตัวเอง หลังผ่าตัด

 

สำหรับการดูแลตัวเองหลังผ่าตัด ผศ.นพ.ปิลันธน์ แนะนำว่า ควรควบคุมน้ำหนัก หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องก้มหลังเยอะ ยกของ เพราะทำให้หลังที่เคลื่อน เคลื่อนเยอะกว่าเดิม ในกรณีที่มีเหล็กยึดแล้ว ข้อที่ยึดสามารถก้มได้เพราะส่วนใหญ่คนไข้เป็นแค่ข้อเดียว การขยับหลังไม่ลดลง อย่างไรก็ตาม แพทย์ก็ไม่แนะนำให้ก้มเยอะ เพราะจะส่งผลต่อข้อต่ออื่นๆ ขณะที่การกระโดด วิ่ง สามารถทำได้

 

"ทั้งนี้ โอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำในอนาคต หากเป็นข้อเดิมโอกาสน้อย แต่ข้ออื่นอาจจะเคลื่อนได้ กระดูกสันหลังมีหลายข้อต่อ เทียบกับรถ เมื่อรถเสียก็จะซ่อมแค่ตรงที่เสีย หากซ่อมเสร็จใช้งานหนักเหมือนเดิม ส่วนอื่นๆ ก็อาจจะเสียตามมาได้ ดังนั้น ต้องดูแลร่างกาย การป้องกัน หากมีการก้ม หรือ บิดตัว ให้รู้ลิมิตตัวเอง บางคนเอี้ยวตัวแรง อาจะทำให้เกิดการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกได้ ขณะที่ ท่ายกของ ต้องนั่งยองๆ ไม่ควรก้มแล้วยก" ผศ.นพ.ปิลันธน์ กล่าวทิ้งท้าย 

ลัดคิวหมอ - โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน ภัยเงียบที่มากกว่าอาการปวดหลัง 08/08/66 | by RAMA Channel

โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน ภัยเงียบที่มากกว่าอาการปวดหลัง

ปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตราย

ผศ. พญ.ศิริสุชา โศภนคณาภรณ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

ผศ. นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา ศัลยกรรมกระดูกและข้อ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์

ติดตามเรื่องราวได้ในรายการลัดคิวหมอรามาฯ รายการที่คุณสามารถแช็ตถาม หรือโทรถามหมอแบบสด ๆ ได้โดยไม่ต้องต่อคิว

วันอังคารที่​ 8 สิงหาคม​ 2566 เวลา 17.00 – 18.00 น.

📞 0-2354-7105

ผลการรักษา

ติดต่อเรา

สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์

สมุทรปราการ

เบอร์โทร

โทร. 02-839-6000

ที่อยู่

111 หมู่ 14 ถนนเลียบคลองส่งน้ำสุวรรณภูมิ บางปลา บางพลี สมุทรปราการ 10540

เวลาทำการ

พฤหัส 16:00 - 19:00 น.
ศุกร์ 16:00 - 18:00 น. ตรวจสัปดาห์ที่ 2,4,5

รามาธิบดี เฮลธ์ สเปซ คลินิกพรีเมียม @ พาราไดซ์ พาร์ค

เบอร์โทร

02-2010640-45

ที่อยู่

ชั้น 3 พาราไดซ์ พาร์ค

เวลาทำการ

เสาร์ 8:00 - 11:00 น.

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เบอร์โทร

02-080-5999

ที่อยู่

35/2 หมู่ 12 ถนนบางนา-ตราด ซอย 64 ตำบล บางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540

เวลาทำการ

เสาร์ 12:00 - 14:00 น.

โรงพยาบาลไทยนครินทร์

เบอร์โทร

02-340-7777

ที่อยู่

345 บางนา-ตราด กม. 3.5 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260

เวลาทำการ

เสาร์ 16:00 - 19:00 น.

โรงพยาบาลมิชชั่น

เบอร์โทร

02-282-1100

ที่อยู่

430 ถ.พิษณุโลก แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

เวลาทำการ

อาทิตย์ 08:30 - 11:30 น.

โรงพยาบาลนวเวช

เบอร์โทร

02-483-9999

ที่อยู่

9 ถนนรัชดา-รามอินทรา แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230

เวลาทำการ

พุธ 17:00-19:30 น.

โรงพยาบาลรวมใจรักษ์

เบอร์โทร

02-768-9999

ที่อยู่

77 ซ. สุขุมวิท 62 แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 10260

เวลาทำการ

นัดล่วงหน้ากับทางรพ.เท่านั้น