การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบส่องกล้อง (Endoscopic Spine Surgery(PELD/PSLD)


การผ่าตัดแบบส่องกล้อง หรือ ”เจาะรูผ่าตัด” เป็นการผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีรูปแบบใหม่

ซึ่งสามารถใช้รักษาความผิดปกติของกระดูกสันหลังได้หลายชนิด

ไม่ว่าจะเป็น ภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท ภาวะโพรงประสาทตีบแคบ

โดยการผ่าตัดด้วยวิธีแบบส่องกล้องสามารถแก้ไขอาการของผู้ป่วย

และให้ผลการรักษาที่ดีเทียบเคียงได้กับการผ่าตัดแบบเปิด หรือการผ่าตัดแบบเปิดแผลด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่เคยทำกันมา

แต่มีข้อดีกว่าคือ มีการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อหลังน้อยกว่า ช่วยลดอาการปวดหลังผ่าตัด

ผู้ป่วยจึงฟื้นตัวได้ไว สามารถเริ่มการกายภาพหลังผ่าตัดได้เร็ว และช่วยลดระยะเวลาการพักฟื้นในโรงพยาบาลให้สั้นลงได้

กระดูกสันหลัง และ วิวัฒนาการของการผ่าตัด

  • กระดูกสันหลัง เป็นโครงสร้างหลักที่เป็นแกนกลางของร่างกาย โดยกระดูกสันหลังนั้นจะถูกล้อมรอบด้วยกล้ามเนื้อหลัง เพื่อเพิ่มความมั่นคงแก่กระดูกสันหลัง และปกป้องกระดูกสันหลังจากภยันตราย ภายในของกระดูกสันหลังจะมีโครงสร้างที่สำคัญ คือ ไขสันหลังและเส้นประสาท ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อขาทั้งสองข้าง และรับความรู้สึกจากบริเวณขาทั้งสองข้างด้วย
  • การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของกระดูกสันหลัง มีความจำเป็นต้องเปิดแผลและทำลายกล้ามเนื้อหลังบางส่วน เพื่อให้แพทย์สามารถเข้าถึงกระดูกบริเวณที่มีความผิดปกติและต้องการแก้ไข นอกจากนี้ยังต้องทำการผ่าตัดเลาะผังพืดบริเวณโพรงประสาทและรอบๆเส้นประสาท ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีความสำคัญและมีความละเอียดอ่อนในการผ่าตัด
  • ในอดีตที่ผ่านมาการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ มักจะนิยมใช้การผ่าตัดแบบเปิดแผล ซึ่งต้องมีการตัดทำลายกล้ามเนื้อหลังที่ปกติ ก่อให้เกิดความเจ็บปวดหลังจากการผ่าตัด และส่งผลให้ผู้ป่วยฟื้นตัวหลังผ่าตัดได้ช้า ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลค่อนข้างนาน
  • ในยุคต่อมามีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยผ่าตัดที่มีกำลังขยายสูง ทำให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดสามารถมองเห็นตำแหน่งที่ต้องทำการผ่าตัดได้อย่างชัดเจน แม่นยำขึ้น ช่วยให้แพทย์สามารถทำการผ่าตัดผ่านแผลที่มีขนาดเล็กลงและมีความปลอดภัยมากขึ้น อย่างไรก็ดีการผ่าตัดวิธีดังกล่าวนี้ ก็ยังต้องมีการตัดทำลายกล้ามเนื้อหลังบางส่วนพอสมควร เพื่อเข้าถึงกระดูกสันหลัง และเปิดช่องทางให้กล้องจุลทรรศน์สามารถส่องเห็นกระดูกสันหลังและเส้นประสาทจากภายนอกได้ 
  • แต่ในยุคปัจจุบันศัลยแพทย์ผ่าตัดสามารถทำการผ่าตัดผ่านเทคนิคที่เรียกว่า “การเจาะรูผ่าตัด” แล้วใช้กล้องที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 1 เซนติเมตร (Endoscope) สอดผ่านผิวหนังเข้าไปยังกระดูกสันหลังที่อยู่ลึกในร่างกายได้ ด้วยเทคโนโลยีชนิดนี้ศัลยแพทย์ผ่าตัดจะสามารถผ่าตัดผ่านแผลที่มีขนาดเล็กมาก และแทบจะไม่มีการตัดทำลายกล้ามเนื้อหลัง ทำให้มีการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อหลังน้อยมาก นอกจากนี้แพทย์ยังสามารถทำการผ่าตัดได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น เพราะกล้อง Endoscope มีกำลังขยายที่สูง ให้ภาพที่คมชัด ทำให้สามารถมองเห็นพื้นที่บริเวณที่ผ่าตัดได้อย่างชัดเจนมากกว่าเมื่อเทียบกับการผ่าตัดผ่านกล้อง Microscope


การผ่าตัดแบบส่องกล้อง Endoscope เหมาะสำหรับใครบ้าง


  • ผู้ป่วยที่มีอาการชาขาหรือปวดหลังร้าวลงขา จากภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท
  • ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง จากภาวะปลอกหุ้มหมอนรองกระดูกสันหลังฉีกขาด
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะโพรงประสาทสันหลังตีบแคบ


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการเลือกรูปแบบการผ่าตัดที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของผู้ป่วย และดุลยพินิจของแพทย์ หากการผ่าตัดแบบเจาะรูผ่าไม่สามารถแก้ปัญหาของผู้ป่วยได้ทั้งหมด ศัลยแพทย์ผ่าตัดอาจแนะนำการผ่าตัดหรือการรักษาด้วยวิธีอื่นๆแทน

“การผ่าตัดส่องกล้องเป็นทางเลือกการรักษาที่ให้ผลการรักษาดี แต่อาจไม่ตอบโจทย์สำหรับผู้ป่วยทุกคน

ดังนั้นการรักษาที่ดีที่สุด คือ การรักษาที่ตรงกับอาการของผู้ป่วย ช่วยให้อาการหาย และมีการบาดเจ็บจากการรักษาน้อยที่สุด”


การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

  • ก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินความพร้อมสำหรับการผ่าตัดโดย อายุรแพทย์ และ/หรือ วิสัญญีแพทย์ ซึ่งจะประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด และจะทำการให้ยาต่างๆเพื่อให้ร่างกายผู้ป่วยแข็งแรงและมีความพร้อมมากที่สุดสำหรับการผ่าตัด
  • งดน้ำและอาหาร 8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด เผื่อลดอัตราการเกิดการสำลักอาหารระหว่างดมยาสลบเพื่อผ่าตัด
  • งดยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาต้านเกร็ดเลือด/การแข็งตัวของเลือด เช่น aspirin, Plavix และ warfarin เป็นต้น
  • งดอาหารเสริม เช่น สมุนไพร เมล็ดแปะก๊วย โสม น้ำมันตับปลา อย่างน้อย 7 วันก่อนผ่าตัด
  • งดสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ 
  • นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย  



ขั้นตอนการผ่าตัดแบบส่องกล้อง Endoscope


  • วิสัญญีแพทย์ทำการระงับความรู้สึกของผู้ป่วยผ่านการดมยาสลบ ช่วยให้ผู้ป่วยไม่มีอาการปวดและอยู่นิ่งระหว่างที่ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดรักษา
  • จัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนคว่ำ เพื่อทำการส่องกล้องที่บริเวณสันหลัง
  • ศัลยแพทย์ผ่าตัดทำการยืนยันตำแหน่งและระดับของข้อกระดูกสันหลังที่จะทำการผ่าตัดโดยใช้เครื่อง X-ray 
  • ศัลยแพทย์ผ่าตัด ทำการ “เจาะรู” ที่ผิวหนังขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร จากนั้นทำการสอดกล้องผ่านผิวหนัง เข้าไปสู่บริเวณกระดูกสันหลังที่จะทำการผ่าตัดแก้ไข โดยใช้ X-Ray ในห้องผ่าตัดเพื่อยืนยันระดับของกระดูกสันหลังที่จะทำการผ่าตัด และยืนยันว่ากล้องผ่าตัดนั้นอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ช่วยให้การผ่าตัดปลอดภัย และสามารถผ่าตัดได้อย่างราบรื่น
  • จากนั้นศัลยแพทย์ จะทำการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของกระดูกสันหลังผู้ป่วยด้วยวิธีต่างๆ เช่น การขยายโพรงประสาท การคีบนำหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นมาเบียดเส้นประสาทออก โดยเฉลี่ยใช้ระยะเวลาผ่าตัดประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อกระดูกสันหลัง 1ระดับ
  • หลังเสร็จสิ้นการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลที่ห้องพักฟื้นหลังผ่าตัดโดยวิสัญญีแพทย์ และ ได้รับการส่งตัวกลับหอพักผู้ป่วยเมื่อตื่นจากการดมยาสลบ


การพักฟื้นหลังผ่าตัด

  • ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล: 1-2 วัน
  • แผลภายนอกสมานตัว: 2 สัปดาห์
  • หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ และ ใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ แต่มีข้อจำกัด หลังผ่าตัดช่วงแรก
  • 6 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด
  • งดการนั่ง/ยืนต่อเนื่องนานเกิน 2 ชั่วโมง
  • การนั่งควรต้องมีพนักพิงสันหลังเสมอ
  • ใส่อุปกรณ์พยุงสันหลัง (Lumbar support) ตลอด ขณะยืน/นั่ง
  • งดยกของที่หนักเกิน 2 กก.
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องก้มหลัง
  • งดการไอ จาม เบ่งหรือบิดตัวแรงๆ
  • สามารถขับรถได้ประมาณ 1 เดือนหลังผ่าตัด
  • สามารถเล่นกีฬาที่ไม่มีการกระแทกเช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น ได้ที่ 2 เดือนหลังผ่าตัด
  • สามารถเล่นกีฬาที่มีการกระแทก เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล เป็นต้น ได้ที่ 6 เดือนหลังผ่าตัด
  • แนะนำหยุดงานหลักผ่าตัดอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
  • ระยะเวลาดังกล่าว อาจสั้น หรือ ยาวกว่าปกติได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ลักษณะการใช้งานและการทำงานของผู้ป่วย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และน้ำหนักตัว


Youtube:

https://www.youtube.com/watch?v=FBUorMoTsGM

https://www.youtube.com/watch?v=VQezUm7oaws

https://www.youtube.com/watch?v=U8wZ7uX75fw

ผลการรักษา

ติดต่อเรา

สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์

สมุทรปราการ

เบอร์โทร

โทร. 02-839-6000

ที่อยู่

111 หมู่ 14 ถนนเลียบคลองส่งน้ำสุวรรณภูมิ บางปลา บางพลี สมุทรปราการ 10540

เวลาทำการ

จันทร์ 16:00 - 19:00 น.
ศุกร์ 16:00 - 18:00 น. ตรวจสัปดาห์ที่ 2,4,5

รามาธิบดี เฮลธ์ สเปซ คลินิกพรีเมียม @ พาราไดซ์ พาร์ค

เบอร์โทร

02-2010640-45

ที่อยู่

ชั้น 3 พาราไดซ์ พาร์ค

เวลาทำการ

เสาร์ 8:00 - 11:00 น.

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เบอร์โทร

02-080-5999

ที่อยู่

35/2 หมู่ 12 ถนนบางนา-ตราด ซอย 64 ตำบล บางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540

เวลาทำการ

เสาร์ 12:00 - 14:00 น.

โรงพยาบาลไทยนครินทร์

เบอร์โทร

02-340-7777

ที่อยู่

345 บางนา-ตราด กม. 3.5 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260

เวลาทำการ

เสาร์ 15:00 - 19:00 น.

โรงพยาบาลมิชชั่น

เบอร์โทร

02-282-1100

ที่อยู่

430 ถ.พิษณุโลก แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

เวลาทำการ

อาทิตย์ 08:30 - 11:30 น.

โรงพยาบาลนวเวช

เบอร์โทร

02-483-9999

ที่อยู่

9 ถนนรัชดา-รามอินทรา แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230

เวลาทำการ

พุธ 17:00-19:30 น.

โรงพยาบาลรวมใจรักษ์

เบอร์โทร

02-768-9999

ที่อยู่

77 ซ. สุขุมวิท 62 แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 10260

เวลาทำการ

นัดล่วงหน้ากับทางรพ.เท่านั้น