การผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอผ่านกล้อง
(Anterior Cervical Discectomy and Fusion)

ภาวะหมอนรองกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทเป็นภาวะที่พบได้บ่อย

ผู้ป่วยมักมีอาการเริ่มต้นคือ ปวดต้นคอ ปวดคอร้าวลงแขน ชาแขนหรือชามือ

ในรายที่มีการกดทับของเส้นประสาทมากอาจมีอาการ อ่อนแรงของมือ

เช่น รู้สึกติดกระดุมไม่ถนัด เขียนหนังสือแล้วลายมือไม่เหมือนเดิม 

หรืออาการอ่อนแรงของขา ทำให้มีอาการเดินเซได้

หรือในบางรายอาจมีการขับถ่ายปัสสาวะอุจจาระที่ผิดปกติไป

อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงภาวะเส้นประสาทและไขสันหลังส่วนคอถูกกดทับ

ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจาก หมอนรองกระดูกคอเคลื่อนกดทับเส้นประสาท กระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท

หินปูนเกาะเส้นเอ็นหลังกระดูกคอ เป็นต้น 


การรักษาเบื้องต้นมักเริ่มด้วยการทานยาและการทำกายภาพบำบัด

แต่หากอาการปวดหรือชาของคุณ ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัด

หรือมีการทำงานของระบบประสาทที่ผิดปกติ


การรักษาด้วยการผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอผ่านกล้อง หรือ Anterior Cervical Discectomy and Fusion หรือ ACDF

อาจช่วยให้อาการของคุณดีขึ้น และกลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้


การผ่าตัด ACDF เหมาะสำหรับใครบ้าง?


ผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอหรือชาแขนที่เกิดจากหมอนรองกระดูกหรือกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท

และอาการไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา/การทำกาพภาพบำบัด

มีการกดทับของไขสันหลังและเส้นประสาทมากจนมีความผิดปกติของระบบประสาทรุนแรง

หรือผลเอกเรย์คอมพิมเตอร์พบโพรงประสาทส่วนคอตีบแคบ

ที่แพทย์ประเมินแล้วว่าควรรักษาโดยการผ่าตัด

และไม่ควรรอผลการรักษาด้วยการกินยา/ทำกายภาพ


  • หมอนรองกระดูกคอเคลื่อนกดทับเส้นประสาท
  • หมอนรองกระดูกคอเสื่อม
  • กระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท
  • โพรงประสาทส่วนคอตีบแคบ


การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด


โดยปกติก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้ารับการผ่าตัดบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอหรือส่วนอื่นๆ 

ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินความพร้อมสำหรับการผ่าตัดโดย อายุรแพทย์ และ/หรือ วิสัญญีแพทย์

ซึ่งจะประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด

และจะทำการให้ยาต่างๆ เพื่อเตรียมร่างกายให้มีความพร้อมสำหรับการผ่าตัด


  • งดยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาต้านเกร็ดเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น aspirin, Plavix และ warfarin เป็นต้น
  • งดอาหารเสริม เช่น สมุนไพร เมล็ดแปะก๊วย โสม น้ำมันตับปลา ยาลูกกลอน อย่างน้อย 7 วันก่อนผ่าตัด
  • งดสูบบุหรี่ และ งดการดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนวันผ่าตัด
  • ทำการงดน้ำและอาหาร 8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด เพื่อลดโอกาสเกิดการสำลักอาหารระหว่างดมยาสลบ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ปลอดโปร่งก่อนการผ่าตัด  


การผ่าตัด ACDF ประกอบด้วย 2  ขั้นตอนหลัก


  1. การผ่าตัดนำหมอนรองกระดูกออก (Discectomy)ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ACDF มักมีหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอที่เสื่อมหรือบาดเจ็บ และเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาท ในการผ่าตัด ACDF ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดนำหมอนรองกระดูกคอที่ผิดปกติออก เพื่อลดการกดทับเส้นประสาท และ สร้างพื้นที่สำหรับการใส่อุปกรณ์ทดแทนหมอนรองกระดูก
  2. การใส่อุปกรณ์ทดแทนหมอนรองกระดูกเพื่อเชื่อมข้อต่อ  (Fusion) - หลังจากที่นำหมอนรองกระดูกที่มีปัญหาออกไปแล้ว ศัลยแพทย์จะทำการใส่อุปกรณ์ทดแทนหมอนรองกระดูก หรือทำการปลูกถ่ายกระดูกเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเชื่อมติดกันของกระดูกคอ นอกจากนี้กระดูกคอส่วนที่มีปัญหามักจะมีความหลวมของข้อต่อ เมื่อผู้ป่วยมีการขยับคอและศรีษะ จะทำให้กระดูกไปกระแทกกับเส้นประสาทและทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆได้ ในบางรายจึงมีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เพื่อเสริมความมั่นคงของข้อต่อ เช่น สกรู หรือ แผ่นโลหะ เป็นต้น


ข้อดีของการผ่าตัด ACDF


  • ลดการกดทับของเส้นประสาทและไขสันหลัง และเสริมความมั่นคงของกระดูกคอ
  • แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กประมาณ 3-5 ซม.
  • อัตราเสียเลือดน้อย
  • มีการตัดทำลายกล้ามเนื้อคอน้อย
  • ฟื้นตัวไว นอนโรงพยาบาลไม่นาน ลดภาระค่าใช้จ่ายระหว่างพักฟื้น


ระยะเวลาการผ่าตัด

  • ระยะเวลาการผ่าตัดขึ้นอยู่กับจำนวนข้อต่อกระดูกที่ต้องทำการผ่าตัด
  • การผ่าตัดกระดูกคอ 1 ข้อ จะใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง
  • จำนวนข้อถัดๆไป จะใช้ระยะเวลาการผ่าตัดเพิ่มขึ้นข้อละประมาณ 1 ชั่วโมง


ความเสี่ยงของการผ่าตัด ACDF


การรักษาด้วยการผ่าตัดมีความเสี่ยงโดยทั่วไป ได้แก่ ความเสี่ยงจากการดมยาสลบ

ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ ขึ้นกับชนิดการผ่าตัด อัตราการเสียเลือด อายุ และ โรคประจำตัวของผู้ป่วย

ซึ่งก่อนการผ่าตัดจะต้องมีการตรวจประเมินร่างกายอย่างละเอียดโดย วิสัญญีแพทย์ และ อายุรแพทย์  


สำหรับความเสี่ยงของการผ่าตัดกระดูกสันหลังที่หลายคนกังวล ได้แก่

การบาดเจ็บต่อเส้นเลือดหรือเส้นประสาท และก่อให้เกิดความทุพพลภาพหลังผ่าตัด

ความเสี่ยงเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ แต่อัตราเกิดน้อยกว่า 3 %

และส่วนใหญ่มีอาการเพียงชั่วคราวและสามารถหายเองได้

มีส่วนน้อยมากที่เกิดความผิดปกติแบบถาวร

ความเสี่ยงเหล่านี้สามารถควบคุมได้ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการผ่าตัด และ รักษาผู้ป่วยของแพทย์อีกด้วย

ภาวะแทรกซ้อนที่จำเพาะต่อการผ่าตัด ACDF ที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่ เสียงแหบ เสียงเปลี่ยน กลืนติด กลืนเจ็บ เป็นต้น

แต่อาการมักดีขึ้นตามลำดับหลังการผ่าตัด


ผลการรักษา

ติดต่อเรา

สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์

สมุทรปราการ

เบอร์โทร

โทร. 02-839-6000

ที่อยู่

111 หมู่ 14 ถนนเลียบคลองส่งน้ำสุวรรณภูมิ บางปลา บางพลี สมุทรปราการ 10540

เวลาทำการ

จันทร์ 16:00 - 19:00 น.
ศุกร์ 16:00 - 18:00 น. ตรวจสัปดาห์ที่ 2,4,5

รามาธิบดี เฮลธ์ สเปซ คลินิกพรีเมียม @ พาราไดซ์ พาร์ค

เบอร์โทร

02-2010640-45

ที่อยู่

ชั้น 3 พาราไดซ์ พาร์ค

เวลาทำการ

เสาร์ 8:00 - 11:00 น.

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เบอร์โทร

02-080-5999

ที่อยู่

35/2 หมู่ 12 ถนนบางนา-ตราด ซอย 64 ตำบล บางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540

เวลาทำการ

เสาร์ 12:00 - 14:00 น.

โรงพยาบาลไทยนครินทร์

เบอร์โทร

02-340-7777

ที่อยู่

345 บางนา-ตราด กม. 3.5 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260

เวลาทำการ

เสาร์ 15:00 - 19:00 น.

โรงพยาบาลมิชชั่น

เบอร์โทร

02-282-1100

ที่อยู่

430 ถ.พิษณุโลก แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

เวลาทำการ

อาทิตย์ 08:30 - 11:30 น.

โรงพยาบาลนวเวช

เบอร์โทร

02-483-9999

ที่อยู่

9 ถนนรัชดา-รามอินทรา แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230

เวลาทำการ

พุธ 17:00-19:30 น.

โรงพยาบาลรวมใจรักษ์

เบอร์โทร

02-768-9999

ที่อยู่

77 ซ. สุขุมวิท 62 แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 10260

เวลาทำการ

นัดล่วงหน้ากับทางรพ.เท่านั้น